รากของกัญชา
นำมาใช้รักษาโรคต่างๆ ตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงโรค หรืออาการที่หนักหนาสาหัส
สารฟริเดลีน (Friedelin) กับสารพัดประโยชน์
สารฟริเดลีน (Friedelin) เป็นสารประกอบที่พบได้ในพืชหลายชนิด โดยเฉพาะรากของกัญชาที่มีสารประกอบ ฟริเดลีน อยู่มาก ในประวัติศาสตร์สารตัวนี้มีการใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆ มาอย่างยาวนาน
คุณสมบัติในการรักษานั้นมีมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการแก้อาการปวด ลดไข้ ซึ่งมีฤทธิ์บรรเทาอุณหภูมิที่สูงของร่างกาย เหมือนกับคุณสมบัติยาพาราเซตามอล
สำหรับวิธีการใช้ก็ต่างกัน เช่น การต้มรากที่มักใช้กับการลดไข้หรือทำยาต้ม (มีรายละเอียดขั้นตอนมากกว่าแค่ต้มราก) เพื่อทำยาแก้อักเสบ หากเป็นยาเฉพาะอาจต้องผสมกับอย่างอื่น เช่น ในกรณีเกิดอาการอักเสบที่ผิว อาจต้องบดและผสมน้ำมันเพื่อให้ซึมซับเข้าผิวได้ง่าย
สารชนิดเพนต้าไซคลิก ไตรเทอร์พีน (Pentacyclic triterpene)
มีงานวิจัยไม่มากในเรื่องนี้ แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ได้แสดงถึงคุณสมบัติของสารชนิด เพนต้าไซคลิก ไตรเทอร์พีน (Pentacyclic triterpene) ที่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยการกระตุ้นโปรแกรมการตายของเซลล์ อีกทั้งยังช่วยลดอาการอักเสบ ทำหน้าที่ขับปัสสาวะและลดแบคทีเรีย
สารอาหารโคลีน (Choline) สารตั้งต้นของสารสื่อประสาทอะซีทิลโคลีน (Acetylcholine)
เพราะรากเป็นส่วนที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปหล่อเลี้ยงลำต้น ใบและดอกของกัญชา ดังนั้นไม่แปลกที่รากกัญชาจะมีสารอาหารโคลีน (choline) ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็น และเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทอะซีทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งสำคัญมากกับมนุษย์
สารประกอบอื่นและคุณสมบัติการรักษา
สารเทอร์พีน อีพิฟริเดลานอล (terpene epifriedelanol)
– ต้านและยับยั้งการโตของเนื้องอก
สารชนิดโมโนเทอร์พีน (monoterpene) อย่างคาร์วอน (carvone) และไดไฮโดรคาร์วอน (dihydrocarvone)
– มีฤทธิ์แก้ปวด
สารอะโทรปีน (atropine)
– คลายกล้ามเนื้อตา
– ขยายหลอดลมในปอด